1. รหัสและชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก
ภาษาอังกฤษ : Master of Pharmacy Program in Clinical Pharmacy
2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย ชื่อเต็ม : เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (เภสัชกรรมคลินิก)
ชื่อย่อ : ภ.ม. (เภสัชกรรมคลินิก)
ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม : Master of Pharmacy (Clinical Pharmacy)
ชื่อย่อ : M.Pharm (Clinical Pharmacy)
3. วิชาเอก : ไม่มี
4. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร : แผน ก แบบ ก2 ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
5. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา :
ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 และข้อบังคับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ว่าด้วย การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2550 ดังนี้
1) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาเภสัชศาสตรบัณฑิตจากสถาบันอุดมศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการ หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนให้การรับรองตามที่หลักสูตรกำหนด โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสม ไม่น้อยกว่า 2.50 จากระบบ 4.00
2) ในกรณีคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 2.50 ต้องมีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 ปีทั้งนี้ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
3) หากผู้สมัครมีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามข้อกำหนดข้อ 1) และ ข้อ 2) อาจได้รับการพิจารณาให้เข้าศึกษาได้เป็นการเฉพาะราย ขึ้นกับดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยต้องผ่านความเห็นชอบจากมหาวิทยาลัย
หลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก เป็นหลักสูตรเต็มเวลา ใช้ระยะเวลาในการศึกษาไม่เกิน 5 ปีการศึกษา
6. จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร แผน ก แบบ ก2 จำนวน ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
7. โครงสร้างหลักสูตร ดังนี้
หมวดวิชา/จำนวนหน่วยกิต |
แผน ก แบบ ก2 |
ก. หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า |
24 |
ข. หมวดวิทยานิพนธ์ ไม่น้อยกว่า |
12 |
จำนวนหน่วยกิตรวม ไม่น้อยกว่า |
36 หน่วยกิต |
8. รายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร
หลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก มีรายวิชาตามโครงสร้างดังนี้
แผน ก แบบ ก 2 ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
ก. หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
1. กลุ่มวิชาบังคับ 15 หน่วยกิต
1501 802 ระเบียบวิธีวิจัยทางเภสัชกรรมคลินิกและชีวสถิติ 4 (4-0-12)
(Research Method in Clinical Pharmacy and Biostatistics)
1501 803 เภสัชบำบัดตามหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-based Pharmacotherapy) 2 (1-3-4)
1501 804 เภสัชบำบัดขั้นสูง 1 (Advanced Pharmacotherapy I) 3 (2-3-7)
1501 805 สัมมนาทางเภสัชกรรมคลินิก 1 (Seminar in Clinical Pharmacy I) 1 (0-3-1)
1501 806 เภสัชบำบัดขั้นสูง 2 (Advanced Pharmacotherapy II) 3 (2-3-7)
1501 807 สัมมนาทางเภสัชกรรมคลินิก 2 (Seminar in Clinical Pharmacy II) 1 (0-3-1)
1501 808 หัวข้อคัดสรรทางเภสัชกรรมคลินิก (Selected Topics in Clinical Pharmacy) 1 (0-3-1)
2. กลุ่มวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต
นักศึกษาเลือกเรียนรายวิชาต่อไปนี้ จำนวนไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต โดยความเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษา ประกอบด้วยรายวิชาดังนี้
1501 809 กระบวนการการใช้ยาเพื่อสนับสนุนการใช้ยาอย่างสมเหตุผล 3 (3-0-9)
(Medication Use Process to Support Rational Drug Use)
1501 810 การสร้างเครื่องมือวัดผลลัพธ์ทางสุขภาพ 3 (3-0-9)
(Instrumental Development for Health Outcomes)
1501 811 สังคมวัฒนธรรมกับสุขภาพ 3 (3-0-9)
(Society-culture and Health)
1501 812 ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศประยุกต์ทางเภสัชกรรมคลินิก 3 (2-3-7)
(Applied Information Technology System in Clinical Pharmacy)
1501 813 เภสัชกรรมปฐมภูมิและเภสัชกรครอบครัว 3 (3-0-9)
(Primary Care Pharmacy and Family Pharmacist)
1501 814 ความก้าวหน้าทางเภสัชกรรมคลินิกในโรคหัวใจหลอดเลือด 3 (3-0-9)
(Progresses on Clinical Pharmacy in Cardiovascular Diseases)
1501 815 ความก้าวหน้าทางเภสัชกรรมคลินิกในโรคติดเชื้อ 3 (3-0-9)
(Progresses on Clinical Pharmacy in Infectious Diseases)
1501 816 ความก้าวหน้าทางเภสัชกรรมคลินิกในโรคมะเร็ง 3 (3-0-9)
(Progresses on Clinical Pharmacy in Cancer)
1501 817 ความก้าวหน้าทางเภสัชกรรมคลินิกในโรคระบบประสาทและจิตเวช 3 (3-0-9)
(Progresses on Clinical Pharmacy in Neurologic and Psychiatric Diseases)
1501 818 การติดตามระดับยาเพื่อการรักษา (Therapeutic Drug Monitoring) 3 (3-0-9)
1501 819 เศรษฐศาสตร์ทางยา (Pharmacoeconomics) 3 (3-0-9)
ข. หมวดวิทยานิพนธ์ ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
1501 820 วิทยานิพนธ์ (Thesis)