อาจารย์ที่ปรึกษา
อาจารย์ที่ปรึกษามีความสำคัญต่อกระบวนการผลิตบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษามาก เพราะอาจารย์ที่ปรึกษาช่วยให้นักศึกษาสามารถแก้ปัญหาต่างๆของนักศึกษาได้ ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษามีความพร้อมในการศึกษาเล่าเรียน จึงทำให้การเรียนการสอนได้ผลดี อาจารย์ที่ปรึกษายังมีบทบาทในการช่วยพัฒนานักศึกษาให้เป็นบุคคลที่มีความ สมบูรณ์จึงช่วยให้การผลิตบัณฑิตบรรลุวัตถุประสงค์ตามปรัชญาของมหาวิทยาลัย
อาจารย์ที่ปรึกษาในมหาวิทยาลัยโดยทั่วไปมี 3 ประเภท คือ (1) อาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการ (Academic advisors) ได้แก่อาจารย์ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาแก่นักศึกษาในภาค วิชาหรือคณะวิชา (2) อาจารย์ที่ปรึกษากิจกรรมนักศึกษา (Student activity advisors) ได้แก่อาจารย์ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาองค์กรหรือชมรม กิจกรรมนักศึกษา (3) อาจารย์ที่ปรึกษาหอพักนักศึกษา (Residential advisors) ได้แก่ อาจารย์ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาในหอพักนักศึกษา ซึ่งต่อไปนี้จะกล่าวถึงเฉพาะอาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการ หรืออาจเรียกว่า “อาจารย์ที่ปรึกษา ”
สำหรับคณะเภสัชศาสตร์ ระบบอาจารย์ที่ปรึกษา มี 2 ประเภท คือ
วัตถุประสงค์ของระบบอาจารย์ที่ปรึกษา
วัตถุประสงค์โดยทั่วไปของระบบอาจารย์ที่ปรึกษามีดังต่อไปนี้
หน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา
ตามคำสั่งคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เรื่องแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษานักศึกษา คณะเภสัชศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2555 อาจารย์ที่ปรึกษา โดยมีหน้าที่ดังนี้
หน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาด้านวิชาการ
หน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาด้านสังคมและพัฒนานักศึกษา
หน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาด้านอื่นๆ
ข้อควรปฏิบัติของอาจารย์ที่ปรึกษา